บทความ

สำรวจคุณประโยชน์จากเครื่องในหมู ชิ้นส่วนหมูที่หลายคนมองข้าม

ชิ้นส่วนหมู

เครื่องในสัตว์ เป็นอีกชิ้นส่วนที่ถูกนำปรุงอาหาร จนกลายเป็นเมนูโปรดของใครหลายคน โดยเฉพาะเครื่องในหมู ที่ถูกนำไปรังสรรค์เมนูได้อย่างมากมาย เช่น ต้มเลือดหมู กะเพราตับ หรือไส้อ่อนย่าง เป็นต้น 

ทั้งนี้ เครื่องใครหมู อาจไม่เป็นที่ถูกใจสำหรับผู้บริโภคบางคน เพราะด้วยรสชาติแปลกประหลาด เหม็นกลิ่นคาว หรือเนื้อสัมผัสที่ไม่คุ้นชิน จึงทำให้ผู้รับประทานได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีกับเครื่องในหมู อย่างไรก็ตาม เครื่องในหมู ก็ถือเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของหมู ที่อุดมประกอบไปด้วยแร่ธาตุ และวิตามินต่าง ๆ มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง 

ดังนั้น เพื่อสำรวจชิ้นส่วนหมูที่นอกเหนือจากเนื้อหมู ในบทความนี้ พิชชามีทขอพาทุกคนทำความรู้จักกับเครื่องในหมู แหล่งสารอาหารที่หลายคนไม่เลือกกิน ถ้าพร้อมกันแล้ว ตามไปดูกันเลย

ทำความรู้จักเครื่องในหมู แต่ละชิ้นส่วน มีประโยชน์อะไรบ้าง

เครื่องในหมู คือ อวัยวะภายในของหมูที่ช่วยให้ดำรงชีวิตได้ โดยแบ่งออกได้หลายระบบ เช่น ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบขับถ่าย เป็นต้น 

ทั้งนี้ ในหมูหนึ่งตัวประกอบด้วยเครื่องในหลายส่วน ซึ่งแต่ละชิ้นส่วนหมูก็มีคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. หัวใจหมู

หัวใจหมู เป็นหนึ่งในอวัยวะภายในที่นำมาประกอบอาหารในหลายครั้ง นิยมในเมนูอาหารประเภท ต้ม ย่าง หรือทอด โดยลักษณะของหัวใจหมูที่ดี ควรมีสีชมพูเข้ม ไม่มีสีหมองคล้ำ และไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกมา ซึ่งประโยชน์ของหัวใจหมู ได้แก่

  • แหล่งโปรตีน: หัวใจหมูเป็นแหล่งโปรตีนสูง และเป็นส่วนสำคัญในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อได้
  • บำรุงสมอง: หัวใจหมูมีสารที่เรียกว่าโคลีน (Choline) เป็นสารอาหารในกลุ่มวิตามิน B มีส่วนช่วยพัฒนา และป้องกันการเสื่อมสภาพของสมอง
  • บำรุงสุขภาพหัวใจ: สารโคคิวเท็น (Coenzyme Q10) ปรากฏในชิ้นส่วนดังกล่าว เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ จึงช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานดีขึ้น
  • ไขมันต่ำ: หัวใจหมูเป็นส่วนที่มีไขมันน้อย จึงเป็นทางเลือกที่สำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก

2. ไตหมู

ไตหมู หรือที่นิยมเรียกว่า “เซ่งจี๊หมู” มีลักษณะเป็นรูปทรงรี และมีสีน้ำตาลอ่อน เป็นชิ้นส่วนหมูที่ปรากฏในเมนูต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารจีน ซึ่งประโยชน์ของไตหมู ได้แก่

  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน: ไตหมู มีธาตุสังกะสีที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ในการผลิตเมล็ดเลือดขาว ทั้งยังช่วยบำรุงเลือด ป้องกันภาวะโลหิตจาง จากกรดโฟลิก (Folic Acid) ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง
  • เสริมการทำงานไต: ไตหมูมีโฟเลต และสารอื่น ๆ ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของต่อมหมวกไต รวมถึงช่วยลดความดันโลหิต

3. ไส้หมู

ไส้หมู จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ไส้อ่อน ไส้ใหญ่ และไส้ตัน (เฉพาะหมูตัวเมีย) โดยมีลักษณะเป็นเส้นยาว นิยมนำไปตุ๋น และย่าง ซึ่งไส้หมูมีประโยชน์ ดังนี้

  • ช่วยระบบการเผาผลาญ: ไส้หมูประกอบด้วยสารอาหารที่ช่วยเสริมการทำงานของเมตาบอลิซึม เช่น ธาตุเหล็ก และสังกะสี ซึ่งเป็นตัวช่วยให้การเผาผลาญในร่างกายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ควบคุมความดัน: ไส้หมู อุดมไปด้วยโพแทสเซียม ซึ่งมีส่วนร่วมเพื่อรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย และช่วยควบคุมความดันโลหิต

4. ตับหมู

ตับหมู เป็นอีกชิ้นส่วนหมูยอดนิยมในอาหารต่าง ๆ โดยตับหมูมีด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ ตับหมูสีแดงสด เรียกว่า “ตับเลือด” ในส่วนตับหมูที่มีสีน้ำตาลอ่อน เรียกว่า “ตับแป้ง” ซึ่งประโยชน์ของตับหมู ได้แก่

  • บำรุงสายตา: วิตามิน A ในตับหมู มีส่วนช่วยมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น ตาแห้ง สายตาสั้น และโรคตาบอดกลางคืน เป็นต้น
  • บำรุงเลือด: ไม่ว่าจะเป็น ตับหมู ตับไก่ หรือสัตว์เพื่อบริโภคชนิดอื่น มีธาตุเหล็ก ที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งช่วยป้องกันโรคโลหิตจางได้เป็นอย่างดี

5. ปอดหมู

ปอดหมู มีลักษณะเป็นสีชมพูไม่คล้ำ แบ่งแยกออกเป็น 2 กลีบ มีลักษณะคล้ายกับปอดของมนุษย์ ซึ่งปอดหมูมีประโยชน์ ดังนี้

  • บำรุงกระดูก: ปอดหมู มีธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัส เป็นส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟันให้แข็งแรง
  • ต้านทานโรค: คุณค่าทางโภชนาที่ปรากฏในปอดหมู มีส่วนช่วยขจัดโรคในปอด เช่น อาการไอ วัณโรค และโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ เป็นต้น

6. กระเพาะหมู

กระเพาะหมูในหมู 1 ตัว จะมีเพียงกระเพาะเดียวเท่านั้น โดยมีลักษณะเป็นสีขาว และไม่มีสีเขียวปรากฏ ซึ่งกระเพาะหมูมีประโยชน์ ดังนี้

  • ช่วยฟื้นฟูเซลล์: กระเพาะหมูมีคอลลาเจน ช่วยบำรุงความยืดหยุ่นของผิวหนัง อีกทั้งยังช่วยบำรุงกระเพาะ และม้ามของมนุษย์
  • บำรุงร่างกาย: กระเพาะหมูมีแร่ธาตุ และวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น วิตามิน B, เหล็ก และสังกะสี มีสรรพคุณช่วยบำรุงเลือดลมในร่างกาย

7. ม้ามหมู

ม้ามหมู หรือที่เรียกกันว่า ตับเหล็ก มีลักษณะเส้นเป็นสีแดงเข้ม โดยนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ต้ม ผัด ทอด หรือย่าง ก็สามารถทำได้ ซึ่งประโยชน์ของม้ามหมู ได้แก่

  • ป้องกันโลหิตจาง: ม้ามหมู เป็นอีกชิ้นส่วนหมูที่มีธาตุเหล็กสูง จึงเป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงเกิดภาวะเลือดจางได้ 
  • ซ่อมแซมร่างกาย: ม้าม เป็นแหล่งโปรตีน ที่สำคัญต่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย จึงทำให้ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง

มัดรวม 3 วิธีขจัดกลิ่นคาวเครื่องในหมู ก่อนนำชิ้นส่วนหมูไปปรุงอาหาร

หนึ่งในปัญหาที่หลายคนเลือกไม่รับประทานเครื่องในหมู คือ กลิ่นไม่พึงประสงค์ ที่ออกมาจากชิ้นส่วนเหล่านี้ ซึ่งเกิดจากการที่ร้านอาหาร ไม่ทำความสะอาดเครื่องในหมูอย่างละเอียด ส่งผลให้กลิ่นคาวยังคงอยู่ ทำให้ความน่ารับประทานลดลง ดังนั้น ควรทำความสะอาดเครื่องในหมูให้ถูกต้อง โดยมีวิธีการดังนี้

  • แป้งมันผสมน้ำส้มสายชู

การล้างเครื่องในหมูด้วยน้ำเปล่าอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอต่อการดับกลิ่นคาวเครื่องในหมู โดยในวิธีแรกที่แนะนำ คือ การนำเครื่องในหมูไปแช่น้ำส้มสายชู พร้อมกับนำแป้งมันมาขยำ จนมั่นใจว่าไม่มีกลิ่นคาว แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดปิดท้าย

  • เครื่องเทศดับกลิ่น

อีกหนึ่งขั้นตอนง่าย ๆ สำหรับดับกลิ่นคาวเครื่องในหมู โดยการใช้เครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม หรือมีคุณสมบัติดับกลิ่น เช่น พริกไทยดำ รากผักชี  หอมหัวใหญ่ หรือกระเทียม เป็นต้น ทั้งนี้ควรทำความสะอาดเครื่องในด้วยน้ำสะอาด 2-3 รอบ ก่อนนำเครื่องเทศต่างๆ มาหมักเพื่อกำจัดกลิ่น

  • เกลือป่นผสมน้ำส้มสายชู

สำหรับวิธีดังกล่าว ขั้นตอนแรกควรนำเครื่องในหมูล้างน้ำสะอาด 1 รอบ จากนั้นนำเกลือป่น มาขยำเมือก และคราบต่าง ๆ ของเครื่องในออกจนหมด พร้อมกับล้างด้วยน้ำส้มสายชู ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องใช้เวลานานพอสมควร แต่เป็นวิธีที่ช่วยลดกลิ่นคาวได้เป็นอย่างดี

เป็นอย่างไรกันบ้าง หลังจากได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของเครื่องในหมู ซึ่งมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ในปริมาณมาก อาจทำให้คุณรู้สึกว่าชิ้นส่วนหมูเหล่านี้ดูน่ากินขึ้นบ้างไหม ? นอกจากนี้ วิธีการทำความสะอาดล้างกลิ่นคาวก็มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก และสามารถหาอุปกรณ์ หรือวัตถุดิบได้ง่ายในห้องครัวทั่วไป

สำหรับใครที่กำลังสนใจเครื่องในหมู หรือชิ้นส่วนหมูที่มีคุณภาพ ก็อย่าลืมเลือกหมูจาก “พิชชามีท” เพราะเรามีเนื้อหมูคุณภาพดี ได้มาตรฐาน และปลอดภัยไร้สารเร่งเนื้อแดง โดยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @pitchameat

เรื่องที่เกี่ยวข้อง